Saturday, August 14, 2010

ใครฆ่าฟาบีโอ โปเลนกิ นักข่าวชาวอิตาลี






ความตายของนายฟาบีโอ โปเลนกิ ช่างภาพอิสระจะนับเป็นกรณีหนึ่งหรือไม่ในบรรดาเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ปัจจุบันของประเทศไทยที่ไม่มีข้ออธิบาย ฟาบีโอ โปเลนกิถูกยิงจนเสียชีวิตเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ก่อนเวลา 11 นาฬิกาตรงเพียงครู่เดียว ทั้ง ๆ ที่เขาก็วิ่งกับนักข่าวคนอื่น ๆ และคนเสื้อแดง (ผู้ประท้วงต้านรัฐบาล) เพื่อหลบกระสุนจริง วันนั้น รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะสั่งให้ทหาร “เก็บกวาด” ย่านธุรกิจการค้ากรุงเทพฯ ที่ถูกคนเสื้อแดงใช้พื้นที่อยู่นานสองเดือน ทหารกระชับวงล้อมเข้ามาทีละน้อยด้วยการยิงกระสุนใส่ผู้ชุมนุมติดอาวุธหินและขวดระเบิดมือ ขณะที่ฟาบีโอกำลังวิ่ง ก็ถูกกระสุนเข้าลูกหนึ่ง แล้วล้มลง มีเพื่อน ๆ นักข่าวและคนเสื้อแดงหามและพาเขาไปโรงพยาบาล เขาเสียชีวิตจากการบาดเจ็บ
สองวันหลังจากการตายของชาวอิตาลีผู้นี้ สถาบันนิติเวชก็ทำการชันสูตรศพ วันรุ่งขึ้น ร่างของฟาบีโอก็ถูกเผาโดยมีพี่สาวอิซาแบล เพื่อนพ้องและเพื่อนนักข่าวมาร่วมงาน จากนั้นสามเดือนผ่านไป ตำรวจยังคงปฏิเสธที่จะเปิดเผยผลการชันสูตรศพ « การสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น » พล.ต.อ. ณรัชต์ เศวตนันท์ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เอฟบีไอแบบไทยก็ยังไม่สามารถให้คำตอบต่อคำถามโหดๆ อย่าง ประเภทของกระสุนที่พบในศพของฟาบีโอ วิถีกระสุน คำถามอื่น ๆ นั้นเกี่ยวกับตำแหน่งของนักแม่นปืนของกองกำลังที่ฆ่าผู้ชุมนุมไปหลายคนในวันเดียวกัน รวมถึงตำแหน่งของคนเสื้อดำผู้เป็นแขนติดอาวุธให้กับคนเสื้อแดง แต่นั้นก็อีก ไม่มีคำตอบใด ๆ หรือเป็นคำตอบเบลอ ๆ ไม่ชัด
กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) หรือ เอฟบีไอไทยนั้นผู้มีความรับผิดชอบต่อคดีกลับเงียบกริบ ทำไมกรมการนี้ผู้ที่ถูกมองจากคนเสื้อแดงและสื่อบางหน่วยว่ามีความใกล้ชิดกับพรรคประชาธิปัตย์ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะจึงดึงดูดความสนใจจากสื่อต่างประเทศและองค์กรพิทักษ์สิทธิเสรีภาพของนักข่าว บางที อาจเป็นเพราะความจริงที่ปรากฏอาจสร้างความเสื่อมเสียแก่รัฐบาลและทหารที่คุมประเทศอยู่ในมือ พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ (ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ-ร.21 รอ.) เป็นหัวหน้ากองทัพทหารราบตั้งแต่ปี 2550 ขึ้นดำรงตำแหน่งหลังรัฐประหารเดือนกันยายน 2549 ที่ขับไล่อดีตนายกรัฐมนตรี พล.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ผู้เป็นที่นิยมและเป็นประชานิยม (และทุจริต) กล่าวถึงพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เพื่อนกองทัพของพลเอกอนุพงษ์ และเป็นผู้กำกับการปฏิบัติการของทหารเมื่อวันที่ 10 เมษายน และระหว่างวันที่ 13-19 พฤษภาคมที่ผ่านมายังให้มีผู้เสียชีวิต 90 คนโดยมีนักข่าวฮิโรยูกิ มุระโมโต นายฟาบีโอ โปเลนกิ และทหารอย่างน้อยจำนวน 5 นาย เขาจะได้รับช่วงต่อจากหัวหน้าโป้ปดกรมทหารราบของตนในวันที่ ๑ ตุลาคมที่จะถึงนี้ นับไปอีก 7 ปีที่ยอดทหารรักษาพระองค์ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถผู้นี้ จะได้คุมตำแหน่งอำนาจสูงสุดของกองกำลังทหารไทย เป็นสิ่งที่ไม่เคยปรากฏในประวัติศาสตร์ทหารราชอาณาจักรไทย และยังสร้างความอิจฉาริษยาร้ายท่ามกลางเหล่าข้าราชการ
แล้วใครฆ่านายฟาบีโอ โปเลนกิ เพื่อนนักข่าวและเพื่อน ๆ ของเขาได้คำตอบบางประการจากการสืบเสาะ ฟาบีโอถูกยิงด้วยกระสุนในย่านที่คนเสื้อดำใช้อาวุธโดยเฉพาะเครื่องยิงระเบิดเอ็ม 16 ลูกระเบิดเอ็ม 79 ซึ่งระเบิดชนิดหลังได้ฆ่านายทหารไปหนึ่งนาย และทำให้นักข่าวชาวแคนาดา นายชองด์แลร์ วานแดร์กริฟท์ บาดเจ็บสาหัส วันที่ 19 พฤษภาคม คนเสื้อดำใช้พื้นที่สถานีรถไฟฟ้าราชดำริ ซึ่งห่างจากสถานที่ ๆ ฟาบีโอถูกฆ่า 425 เมตร ส่วนเวลาประมาณ 11 โมงเช้า ในวันที่ 19 พฤษภาคม มีกำลังทหารบางกลุ่มกระจายอยู่เพื่อปฏิบัติการกวาดล้างได้ก็รุกเรื่อยมายังด้านใต้ของถนนราชดำริ (ด้านที่จรดกับถนนพระราม 4 - ผู้แปล) และฝ่าสวนสาธารณะลุมพินี ซึ่งครอบคลุมด้านตะวันตกเฉียงใต้ของถนน
ในเวลาเดียวกัน นักแม่นปืนจำนวนหนึ่งของกองกำลังประจำอยู่บนอาคารย่านราชดำริยิงออกมาใส่ผู้ชุมนุมเสื้อแดง และนักข่าวที่อยู่บนถนน "เป็นไปได้ว่าฟาบีโอถูกกระสุนที่ยิงมาจากทหารราบที่อยู่ที่บนถนนราชดำริ ผมมองไม่ออกว่าทำไมนักแม่นปืนจะจำเพาะเจาะจงยิงเขา" นักข่าวผู้หนึ่งประเมินเหตุการณ์ หน่วยทหารรบพิเศษประจำพื้นที่ที่มีกลุ่มทหารราบซึ่งหันย้อนศรไปทางเหนือของถนนราชดำริอยู่แล้ว อาจเป็นที่ทราบกันในวันใดวันหนึ่งเกี่ยวกับขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของกระสุนที่สังหารนายฟาบีโอ โปเลนกิ แต่นั้นก็ไม่ใช่ปัจจัยสุดท้ายที่ให้คำตอบ เพราะคนเสื้อดำและทหารสามารถใช้อาวุธเดียวกัน สิ่งสำคัญกว่านั้นคือ จุดที่กระสุนถูกยิงมา ลักษณะที่เกิดของบาดแผลและวิถีกระสุน คือสิ่งที่ให้ความกระจ่างว่ากระสุนมาจากที่ใด ในเมื่อไม่มีรายละเอียดดังกล่าว ย่อมจะไม่อาจแน่ใจถึงที่มาที่ไปของผู้ที่ฆ่านักข่าวอิตาลี
หลังจากที่นายฟาบีโอถูกกระสุนเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคมนั้น ชายชาวเอเชียผู้หนึ่ง รีบรุดเข้าไปเอากล้องถ่ายรูป Canon 5D จากมือของเขา แล้วร่วมกับคนอื่น ๆ พากันนำเขาออกไปจากจุดที่มีการยิง สิ่งหนึ่งที่สืบทราบโดยนักข่าวหลายคน และจากการสัมภาษณ์หน่วยทหารรบพิเศษบ่งชี้ว่า บุคคลดังกล่าวไม่ใช่นักข่าว และไม่ใช่เพียงผู้ที่ต้องการฉวยโอกาสจากสถานการณ์เพื่อขโมยกล้องที่มีราคาหลายพันยูโร

Pagmaa Demchig เขียน
สกุณา คำรักษ์ แปล

Photos by : Thilo Thielke (Der Spiegel), Ken Ishii et Wally Santana(Associated Press)

Maps : Courtesy of Filip Heringuez

No comments: